การปรับปรุงฟื้นฟูเมืองโดยใช้ Streetcar เป็นเครื่องมือขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสุขภาวะ ประสบการณ์จากเมืองพอร์ตแลนด์สู่เทศบาลนครระยอง
การปรับปรุงฟื้นฟูเมืองโดยใช้ Streetcar เป็นเครื่องมือขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสุขภาวะ ประสบการณ์จากเมืองพอร์ตแลนด์สู่เทศบาลนครระยอง
เขียนโดย ฐาปนา บุณยประวิตร จาก Smart Growth Thailand
บทความนี้เขียนขึ้นจากการสรุปประสบการณ์การศึกษาและดูงานการวางแผนออกแบบปรับปรุงฟื้นฟูเมืองโดยใช้ระบบขนส่งมวลชนเป็นหัวหอกในการพัฒนาตามเกณฑ์ของการเติบโตอย่างชาญฉลาด (Smart Growth) และ LEED-ND โดยได้ยกตัวอย่างแผนแนวคิดการลงทุนรถไฟฟ้า streetcar ของนครพอร์ตแลนด์ รัฐโอเรกอน สหรัฐฯ เป็นกรณีศึกษา ซึ่งนครพอร์ตแลนด์ใช้ streetcar แย่งส่วนแบ่งการเดินทางของประชาชนที่ใช้รถยนต์ส่วนบุคคลมาเป็นระบบขนส่งมวลชน และใช้เทคโนโลยีและโครงสร้างพื้นฐานที่สะอาดในการปรับปรุงฟื้นฟูกายภาพเมืองและถนนเพื่อการยกระดับเศรษฐกิจพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชน (Transit-Oriented Development) และเศรษฐกิจสองข้างทางรถไฟฟ้า (Streetcar Economic Corridor) ท้ังนี้ เพื่อความยั่งยืนในการพัฒนาตามวิสัยทัศน์ของเมือง ซึ่งเทศบาลนครระยองได้นำประสบการณ์ดังกล่าวมาใช้เป็นแม่แบบในการศึกษาออกแบบปรับปรุงฟื้นฟูเมืองซึ่งได้กำหนดเป้าหมายที่เด่นชัดในการใช้ระบบขนส่งมวลชนเพื่อลดการใช้รถยนต์สว่นบุคคลโดยการหันมาใช้รถไฟฟ้า streetcar นอกจากน้ันยังได้สร้างนโยบายการปรับปรุงฟื้นฟูศูนย์พาณิชยกรรมจำนวน 5 ศูนย์เพื่อรองรับการเป็นสถานีหลักของ streetcar และกำหนดให้เป็นศูนย์เศรษฐกิจที่มีศักยภาพในการสร้างงาน จ้างงาน และเป็นพื้นที่ใจกลางเมืองและย่านที่มีคุณภาพสำหรับประชาชนชาวระยองในอนาคต ท่านที่เป็นผู้บริหารที่สนใจการปรับปรุงฟื้นฟูเมืองไม่ควรพลาดการอ่านบทความนี้
Relate topics
- 2016 National Planning Conference: Special Economic Zones Planning and Design
- โครงการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนจังหวัดพิษณุโลก
- เขตอุตสาหกรรมนวัตกรรมอาหารและผลิตภัณฑ์สมุนไพรจังหวัดพิษณุโลก
- ทัศนียภาพโครงการศูนย์พาณิชยกรรมผสมผสานที่อยู่อาศัยลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี
- เกณฑ์การวางผังและออกแบบพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชน ตอนที่ 4 รูปแบบและลำดับศูนย์การพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชน (TOD Typology)
- เกณฑ์การวางผังและออกแบบพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชน ตอนที่ 3 เกณฑ์การพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชนและการกำหนดรูปลักษณ์เฉพาะ
- การสนับสนุนทางการเงินเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่พัฒนารอบสถานีขนส่งมวลชนของสหรัฐอเมริกา
- เกณฑ์การวางผังและการออกแบบพื้นที่โครงการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชน ตอนที่ 2 การสร้างยุทธศาสตร์ความร่วมมือภาครัฐและภาคเอกชนและตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจ
- ข้อเสนอการนำเกณฑ์การเติบโตอย่างชาญฉลาดเพื่อปรับปรุงยุทธศาสตร์การวางผังของประเทศไทย
- การวางผังและพัฒนาการค้าปลีกชุมชนเมือง